วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ เทคนิคการแพทย์

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
        ในอดีตผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้นั้น จะต้องจบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งออกโดยกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จะต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ จาก สภาเทคนิคการแพทย์ในบางมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ใน มลรัฐฮาวาย, มลรัฐแคลิฟอร์เนีย, มลรัฐฟลอริดา, มลรัฐเนวาดา และมลรัฐลุยเซียนา เป็นต้น นักเทคนิคการแพทย์จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฏหมาย และจะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นประจำ


คำนำหน้าชื่อและอักษรย่อ        
         ในประเทศไทย นักเทคนิคการแพทย์สามารถใช้คำนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ โดยให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ชาย ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพ." และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หญิง ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพญ." สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักเทคนิคการแพทย์จะใช้อักษรย่อว่า "MT" ซึ่งมาจาก "Medical technologist(เรียกสั้น ๆ ว่าMed tech)" ซึ่งคล้าย ๆ กับแพทย์ที่ใช้อักษรย่อคำว่า "MD" ย่อมาจาก Medical Doctor และ พยาบาลจะใช้คำย่อว่า "RN" ซึ่งย่อมาจาก Registered Nurse และถ้าหากนักเทคนิคการแพทย์ที่ผ่านการรับรองจาก "ชมรมพยาธิวิทยาคลินิกแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Society for Clinical Pathology" ก็อาจจะใช้คำย่อว่า "MT(ASCP)" และเช่นเดียวกัน ถ้าหากผ่านรับการรับรองจาก "สมาคมธนาคารเลือดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Association of Blood Banks ก็สามารถใช้ชื่อย่อว่า "SBB" ได้เช่นกัน โดยสามารถเขียนอักษรย่อเป็น "MT(ASCP)SBB" 


การประกอบอาชีพ
     นักเทคนิคการแพทย์สามารถทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั้งใน ภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานอย่างอื่นได้ เช่น เป็นตัวแทนขายเครื่องมือ-น้ำยาทางการแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาได้ในหลายสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ได้ 

ลักษณะงาน
        วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ คือ วิชาชีพที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย โดยใช้ เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการประเมิน สุขภาพ การวินิจฉัยโรค การทำนายความรุนแรงของโรค การติดตามผลการรักษา การป้องกันโรคและความพิการ การสนับสนุนการรักษา การวิเคราะห์สารพิษ สารปนเปื้อนต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการควบคุมคุณภาพ การพัฒนาและวิเคราะห์ ลักษณะงานเทคนิคการแพทย์สาขาต่าง ๆ ได้แก่
1.เคมีคลีนิก 2.จุลชีววิทยาคลีนิค 3.ภูมิคุ้มกันวิทยาคลีนิก และธนาคารเลือด 4จุลทรรศนศาสตร์คลีนิก และโลหิตวิทยา


        นักเทคนิคการแพทย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใน 4 สาขา ดังกล่าว ได้แก่ การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ได้มาจากร่างกายมนุษย์เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการตรวจวิเคราะห์เมื่อทราบชนิด และปริมาณของสิ่งส่งตรวจ โดยใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานในห้องปฏิบัติการทั่วไป เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์และการทดสอบต่าง ๆ ควบคุมดูแลการใช้งาน และการเก็บรักษาเครื่องมือ ตลอดจนตรวจสอบการประกันคุณภาพ และสามารถ ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน บุคลากรสาขาอื่น และประชาชนทั่วไป ได้อย่างถูกต้อง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น